ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แก้วหูทะลุ (Eardrum Rupture) : อาการ สาเหตุและการรักษา

แก้วหูทะลุคืออะไร

แก้วหูทะลุ (Eardrum Rupture) หมายถึงมีรูขนาดเล็กเกิดขึ้น เยื่อแก้วหูหรือเยื่อ tympanic membrane ฉีกขาด tympanic membrane คือเยื่อบางๆที่กั้นระหว่างหูชั้นกลางและช่องหูชั้นนอก

เยื่อแก้วหูเกิดการสั่นเมื่อมีคลื่นเสียงเข้าไปในช่องหู โดยการสั่นเกิดอย่างต่อเนื่องผ่านกระดูกบริเวณหูชั้นกลาง เพราะว่าการสั่นทำให้เกิดการได้ยิน ซึ่งการได้ยินของคุณเกิดความผิดปกติได้ถ้าหากเยื่อแก้วหูทะลุ

นอกจากนี้เยื่อแก้วหูทะลุยังเรียกอีกชื่อว่าแก้วหูฉีกขาด ซึ่งอาการนี้สามารถทำให้สูญเสียการได้ยินถาวร

Eardrum Rupture

สาเหตุของแก้วหูทะลุ

การติดเชื้อ

หูติดเชื้อเป็นสาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดเยื่อเเก้วหูทะลุมากที่สุดโดยเฉพาะในเด็ก ในระหว่างเกิดหูติดเชื้อจะมีของเหลวสะสมอยู่ที่ด้านหลังของแก้วหู ส่งผลทำให้เกิดแรงดันจากการที่มีของเหลวเพิ่มขึ้นจึงทำให้เยื่อ tympanic membrane ฉีกขาดหรือทะลุได้

ความดันเปลี่ยนแปลง

กิจกรรมต่างๆสามารถทำให้เกิดภาวะความดันเปลี่ยนแปลงได้และทำให้เกิดแก้วหูทะลุได้ ซึ่งอาการนี้เรียกว่าการบาดเจ็บจากแรงกดดันที่มากขึ้น (barotrauma) โดยส่วนใหญ่อาการนี้มักเกิดขึ้นเมื่อความดันภายนอกหูมีความแตกต่างจากแรงดันภายในช่องหูอย่างรุนเเรง กิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บจากความดันที่เพิ่มมากขึ้นได้แก่

  • ดำน้ำลึก
  • ขึ้นเครื่องบิน
  • ขับรถบนที่สูง
  • คลื่นกระแทก
  • มีแรงเข้ามากระเเทกหูโดยตรง

บาดเจ็บหรือมีบาดเเผล

นอกจากนี้อาการบาดเจ็บยังสามารถทำให้แก้วหูทะลุได้ รวมถึงบาดแผลใดก็ตามที่เกิดขึ้นในหูหรือด้านข้างศีรษะสามารถทำให้แก้วหูทะลุได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แก้วหูทะลุได้แก่ 

  • ถูกตีบ้องหู
  • ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาถาวร
  • มีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู
  • อุบัติเหตุทางรถยนต์

การใช้วัตถุก็ตามสอดเข้าไปในรูหูเช่นก้านสำลีและนิ้วมือหรือปากกา หากสอดอุปกรณ์เหล่านี้เข้าไปในหูยิ่งลึกเท่าไหร่ยิ่งเป็นอันตรายต่อหูของคุณมากขึ้นเท่านั้น

ความผิดปกติของประสาทรับเสียงภายในหูชั้นในหรืออาการบาดเจ็บภายในช่องหูที่เกิดขึ้นจากการได้ยินเสียงดังมากเกินไปสามารถทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอาการนี้เป็นอาการที่ผิดปกติ 

อาการของแก้วหูทะลุ

อาการเจ็บปวดเป็นอาการหลักเมื่อเกิดเยื่อแก้วหูทะลุ บางครั้งอาจมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง โดยอาการเจ็บปวดสามารถเกิดขึ้นตลอดทั้งวันหรือมีอาการเจ็บปวดที่รุนเเรงมากขึ้นหรือลดลง 

โดยปกติเมื่อหูเริ่มมีการถ่ายเทของเหลวออกไปทำให้อาการเจ็บปวดหายไป ในช่วงเวลานี้แก้วหูสามารถฉีกขาดได้ ซึ่งของเหลวที่ไหลออกจากหูได้แก่ น้ำ เลือดหรือน้ำหนองที่ไหลออกมาจากหูเนื่องจากเกิดการติดเชื้อขึ้นในรูหู โดยปกติเยื่อหูฉีกขาดเกิดจากการติดเชื้อที่หูชั้นกลางซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีเลือดออก โดยอาการอักเสบภายในหูเหล่านี้เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุน้อยและผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดหรือผู้ที่อยู่ในบริเวณที่มีคุณภาพอากาศต่ำ 

คุณอาจมีอาการสูญเสียการได้ยินชั่วคราวหรือได้ยินเสียงลดลงเนื่องจากหูเกิดการอักเสบติดเชื้อ นอกจากนี้คุณยังมีอาการหูอื้อ ได้ยินเสียงกระดิ่งในหูอย่างต่อเนื่องหรือเสียงผึ้งบินในหูรวมถึงมีอาการวิงเวียนศีรษะเกิดขึ้นอีกด้วย 

วิธีรักษาแก้วหูทะลุ

วิธีการรักษาสำหรับอาการเยื่อแก้วหูทะลุ โดยส่วนใหญ่เป็นการรักษาที่ออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและกำจัดหรือป้องกันการติดเชื้อ

การปลูกเยื่อแก้วหู

ถ้าหากเยื่อแก้วหูไม่สามารถฟื้นตัวเองได้ แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีรักษาด้วยการปลูกเยื่อแก้วหู วิธีปลูกเยื่อแก้วหูคือการใช้กระดาษพิเศษทางการแพทย์มาเชื่อมบริเวณที่เกิดรอยฉีกขาดบนเยื่อแก้วหู ซึ่งเป็นการช่วยกระตุ้นทำให้เนื้อเยื่อเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งและเชื่อมต่อเข้าติดกันอีกครั้ง

ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะสามารถนำมาใช้รักษาอาการติดเชื้อที่อาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ นอกจากนี้ยาปฏิชีวนะยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการติดเชื้อจากการฉีกขาดของแก้วหูขึ้นใหม่ได้ แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะทั้งแบบทานหรือแบบหยอดหู และคุณจำเป็นต้องใช้ยาทั้ง 2 แบบร่วมกัน  

การผ่าตัด

กรณีที่พบได้น้อยมากคือการผ่าตัดที่นำมาใช้เพื่อซ่อมแซมรูเยื่อแก้วหูที่เกิดการฉีกขาด ซึ่งการผ่าตัดนี้นำมาใช้เพื่อซ่อมแซมเยื่อแก้วหูที่ฉีกขาดเรียกว่าการผ่าตัดแปะแก้วหู (tympanoplasty) โดยศัลยแพทย์จะนำเนื้อเยื่อจากส่วนอื่นๆของร่างกายมาปลูกถ่ายบนรูฉีกขาดที่เกิดขึ้นบนเยื่อแก้วหู

การรักษาตนเองที่บ้าน

การรักษาดูเเลตนเองที่บ้านเป็นการรักษาที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของเยื่อแก้วหูทะลุ ซึ่งเป็นการรักษาด้วยความร้อนเพื่อลดอาการเจ็บปวด โดยใช้แผ่นประคบร้อนหรือแผ่นแปะร้อนวางลงบนหูหลายครั้งต่อวันเป็นประจำ

ไม่ควรสั่งน้ำมูกออกจากจมูกอย่างรุนเเรงหากไม่จำเป็น เนื่องจากการสั่งน้ำมูกทำให้เกิดความดันขึ้นภายในช่องหู สำหรับการระบายความดันออกจากหูด้วยการเอามือบีบจมูกเพื่อขับลมออกทางช่องหูทำให้เกิดความดันสูงขึ้นในช่องหูได้เช่นกัน ซึ่งแรงดันในช่องหูที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและทำให้อาการแก้วหูทะลุหายได้ช้า

ไม่ควรใช้ยาหยอดหูที่ซื้อเองจากร้านขายยา เว้นแต่ว่าได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ถ้าหากเยื่อแก้วหูเกิดการฉีกขาด ยาหยอดหูที่ใช้หยอดเข้าไปในรูหูอาจเข้าสู่หูชั้นในที่ลึกมากขึ้นได้และเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้

บทสรุป

การเกิดเยื่อแก้วหูทะลุสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการง่ายๆ ถ้าหากคุณต้องการป้องกันการสูญเสียการได้ยินคุณควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่หูหรือนำวัตถุต่างๆสอดเข้าไปในช่องหู การอักเสบติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นสาเหตุทำให้แก้วหูฉีกขาดได้ซึ่งอาการนี้สามารถรักษาเองได้ที่บ้านด้วยการพักผ่อนและการป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าหู

อย่างไรก็ตามควรไปพบแพทย์ ถ้าคุณสังเกตุพบว่ามีของเหลวไหลออกจากหูหรือมีอาการเจ็บหูอย่างรุนเเรงเกิดขึ้นหลายวัน สำหรับการวินิจฉัยความผิดปกติภายในหูมีหลายวิธีและมีทางเลือกในการรักษาอาการเยื่อหูทะลุหลายรูปแบบ

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome) : อาการ สาเหตุ การรักษา

  Bupa Team   02/12/2020 สารบัญ โรคเทอร์เนอร์คืออะไร? อาการของเทอร์เนอร์ซินโดรม การอยู่ร่วมกับกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ โรคเทอร์เนอร์คืออะไร? โรคเทอร์เนอร์ซินโดรม ร่างกายมนุษย์มีโครโมโซม 46 คู่ (หรือ 23 คู่) ที่เก็บสารพันธุกรรม โครโมโซม X และ Y เป็นตัวกำหนดเพศของคุณ เพศชายมีโครโมโซม X 1ตัวและโครโมโซม Y 1 ตัว เพศหญิงมีโครโมโซม X 2 ตัว เทอร์เนอร์ซินโดรมเป็นภาวะทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมเพศ เรียกอีกอย่างว่า monosomy X, gonadal dysgenesis และ Bonnevie-Ullrich syndrome ภาวะนี้พบในเพศหญิงเท่านั้น เทอร์เนอร์ซินโดรมเกิดขึ้นเมื่อโครโมโซม X บางส่วนหรือทั้งหมดขาดหายไป ภาวะนี้มีผลต่อผู้หญิงประมาณ 1 ใน 2,000 คน ผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ สามารถมีชีวิตที่แข็งแรงได้ แต่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เทอร์เนอร์ซินโดรมนั้นยังไม่มีวิธีป้องกัน อาการของเทอร์เนอร์ซินโดรม สำหรับผู้ป่วยเทอร์เนอร์ซินโดรม (เฉพาะผู้หญิง) จะมีอาการเหล่านี้ตั้งแต่แรกเกิด หรือวัยเด็ก มือและเท้าบวม (ในวัยทารก) ตัวเตี้ย เพดานสูง หูอยู่ตำแหน่งต่ำ อ้วน เปลือกตาหย่อน เท้าแบน ผ

ภาวะชักจากไข้สูง (Febrile Seizure) : อาการ สาเหตุและการรักษา

Bupa Team   02/12/2020 สารบัญ ภาพรวม อาการของภาวะไข้ชัก สาเหตุของภาวะชักจากไข้สูง การรักษาภาวะชักจากไข้สูง บทสรุป ภาพรวม โดยปกติภาวะชักจากไข้สูง (Febrile Seizure) เกิดขึ้นในเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 3 ปี โดยปกติเด็กจะมีอาการไข้ชักเมื่อมีไข้ขึ้นสูงมากกว่า 102.2 ถึง 104°F (39 ถึง 40°C) ภาวะไข้ชนิดนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รวดเร็วยิ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้นยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการชักได้มากยิ่งขึ้น โดยปกติภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กที่ป่วย โดยส่วนใหญ่ภาวะชักจากไข้สูงมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุ 12-18 เดือน ภาวะชักจากไข้สูงมี 2 ประเภทได้แก่ ภาวะ ไข้ ชักธรรมดาและภาวะไข้ ชักแบบเกร็งหรือกระตุกเพียงซีกเดียว  ซึ่งภาวะไข้ชักธรรมดาเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากกว่า อาการของภาวะไข้ชัก อาการภาวะชักจากไข้สูงมีอาการเกิดขึ้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของไข้ชัก อาการของภาวะชักจากไข้สูงแบบธรรมดาได้แก่ หมดสติ มีอาการแขนขากระตุกหรือมีอาการตัวสั่นอย่างรุนเเรง (โดยปกติมีเกิดอาการตัวสั่นเป็นจังหวะ) เป็นอาการสับสนหรือเหนื่อยหลังจากเกิดอาการชัก แขนและขาไ